top of page

Campaign eBook 3:

Meet Our Campaign Media &Activities for School Teachers

 

ครบเครื่องเรื่องสอนคิดด้วย

Revised Bloom' s Taxonomy 

43706371_965082967019961_366077190967656

คลิกรูปหนังสือเพื่อ ทำแบบประเมินหลัง การศึกษา ด้วยนะคะ

  • VDO CLIP

  • POSTER

  • BROCHURE

ครบเครื่องเรื่องสอนคิด

ด้วย Revised Bloom' s Taxonomy

VDOCLIP Set 1 

VDOCLIP Set 2 

VDOCLIP Set 3 

VDOCLIP Set 4 

VDOCLIP Set 5 

POSTER & BROCHURE

43706371_965082967019961_366077190967656
Issues - Testimonials //

ประเด็น 3.1 - ทบทวนอีกที ประเมินการคิดขั้นสูงจากหลายวิธีจะดี ให้นักเรียนจำในสิ่งที่จำเป็นต้องจำนะคะ
เข้าใจอะไร ต้องพูดแปลความได้ค่ะ ระวังนะคะถ้าตัวเลือกเอามาจากที่เรียนกันในห้อง จะกลายเป็นจำมาตอบ

เลยแหล่ะค่ะ คนที่สังเคราะห์อะไรได้ จะสร้างสรรค์อะไรได้นะคะ

ประเด็น 3.2 - ทบทวนอีกที ข้อสอบอัตนัยสามารถประเมินได้ตั้งแต่ความรู้ ความเข้าใจไปจนถึงการสังเคราะห์ความรู้ การคิดสร้างสรรค์ข้อสอบอัตนัยหนึ่งข้อประเมินความสามารถในการคิดได้หลายระดับ พร้อมๆ กัน อาจมีบางส่วนที่ถามในลักษณะความรู้ ความเข้าใจ และอีกส่วนหนึ่งถามเพื่อให้วิเคราะห์หรือประเมินผสมกันไปได้ เช่นนี้เป็นต้น ข้อสอบอัตนัยที่วัดทั้งการประยุกต์ การวิเคราะห์ การประเมิน หรือการสังเคราะห์ความรู้ นักเรียนล้วนต้องอาศัยการมีความสามารถในความรู้ ความเข้าใจเป็นพื้นฐานด้วยเสมอ

ประเด็น 3.3 - ทบทวนอีกที ในงานชิ้นหนึ่งๆ นักเรียนควรจะได้ใช้ความรู้ความสามารถ การคิดในหลายลักษณะ

นั่นคือ นักเรียนต้องมีและใช้ทักษะการคิดขั้นที่ตํ่ากว่ามาทํางานด้วยเสมอ การมอบหมายงานที่ดีมีคุณภาพ นอก

จากเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนบูรณาการทักษะต่างๆ มาใช้แล้ว ควรให้นักเรียนได้ทํางานแบบบูรณาการกันด้วย เช่น ทํางานเป็นคู่เป็นทีม มีโอกาสได้ใช้ความรู้ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรการเรียนรู้ทั้งที่เป็นบุคคลและไม่ใช่บุคคลประเภทต่างๆ อย่างผสมผสานกัน งานที่มอบหมายให้นักเรียนทําเพื่อการประเมินควรเป็นงานที่เปิดโอกาส

ให้นักเรียนได้เลือกอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งปริมาณงานที่เหมาะสมกับเวลา กําลังแรงงาน ค่าใช้จ่าย และความยาก-ง่ายของงานที่เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของนักเรียน

ประเด็น 3.4 - ทบทวนอีกที เราสามารถกําหนดการประเมินได้หลากหลายวิธี จะด้วยข้อสอบหรือปฏิบัติงานผสมผสานกันก็ได้ และมีวิธีในการวางแผนได้หลากหลายแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการวางแผนแบบใด สิ่งสําคัญในการวางแผนก็คือ ต้องให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่องที่เรียนที่สอน และการใช้เวลาในการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ รวมทั้งการกําหนดปริมาณของงานที่ทําและค่านํ้าหนักของการให้คะแนน จะต้องให้เหมาะสมและสัมพันธ์กับความยากง่ายในการทํา และการใช้เวลาในการทําด้วย

ประเด็น 3.5 - ทบทวนอีกที การสร้างเกณฑ์การประเมิน เราสามารถสร้างได้ทั้งสําหรับการประเมินด้วยข้อสอบอัตนัย และการประเมินด้วยการให้ปฏิบัติงานตามที่มอบหมายในการสร้าง เราต้องพิจารณาว่า - เราจะประเมินอะไร ความรู้ ความสามารถ การกระทํา การปฏิบัติงาน หรือชิ้นงาน -  สิ่งที่เราจะประเมินนั้นครอบคลุมหรือประกอบด้วยองค์ประกอบลักษณะใดบ้าง เพื่อนํามากําหนดเป็นเกณฑ์ ที่จะใช้ประเมิน (criteria) - จะกําหนดค่าระดับความสามารถของนักเรียนเป็นกี่ระดับ และจะกําหนดเป็นคะแนน เป็นเกรด หรือแสดงเป็น ความหมายเชิงคุณภาพ - ต้องการประเมินเป็นองค์รวม (holistic rubric) หรือแยก เป็นเรื่องๆ เป็นด้านๆ (analytic rubric)- จากนั้นก็นําทักษะการคิดของ Bloom มาใช้ ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลสําหรับกําหนดเป็นเกณฑ์การประเมิน หรือกําหนด พฤติกรรมบ่งชี้แต่ละระดับความสามารถ หรือใช้ทักษะการคิด ของ Bloom แสดงเป็นค่าระดับความสามารถด้วยก็ได้

bottom of page