top of page

Campaign eBook 2:

Campaign eBook 2:

Meet Our Campaign Media & Activities for Student-Teachers

 

Revised Bloom' s Taxonomy

เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู

PDF_Book1

คลิกรูปหนังสือ เพื่อทำแบบประเมินหลัง

การศึกษากิจกรรม

ด้วยนะ

  • VDO CLIP

  • POSTER

  • BROCHURE

Revised Bloom' s Taxonomy

เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู

VDOCLIP Set 1 - Set 2: Knowing - Understanding 

VDOCLIP Set 3 - Set 4 : Applying - Analyzing 

VDOCLIP Set 5 - Set 6: Evaluating - Creating

POSTER  & BROCHURE

Issues - Set 2

Revised Bloom' s Taxonomy

เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู

PDF_Book1
PDF_Book1
PDF_Book1
PDF_Book1
PDF_Book1
PDF_Book1
PDF_Book1

CLICK TO REREAD EACH BOOK

AS YOU WANT ....

  • ประเด็น 2.1 จำไว้เลย - คนจะคิดขั้นสูงเป็น ต้องมีข้อมูล ความรู้เป็นต้นทุนด้วย จะมีข้อมูล ความรู้นั้นจะต้องแสวง หาเป็น และรู้จักจำหรือนึกขึ้นมาใช้ได้เมื่อจำเป็น อาการที่แสดงว่ารู้ (knowing) คือ เอาข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริงที่จำได้ หยิบฉวยขึ้นมาใช้ มาบอกมาเล่าได้ เราแสวงหาและจดจำข้อมูล ความรู้ได้ง่ายขึ้น ถ้า  • จำแนกเป็น • แยกความแตกต่างเป็น • วางโครงร่าง และสรุปเป็น

  • ประเด็น 2.2 เมื่อเรารับรู้ และจดจำอะไรได้ เราจะแสดงออกถึงความเข้าใจที่มีต่อสิ่งนั้น การแสดงความเข้าใจ (understanding) เป็นการสื่อสารสิ่งที่เรารู้ ให้ผู้อื่นได้รับทราบ เราสามารถแสดงความเข้าใจได้ ด้วยการ • เปรียบเทียบให้เห็น • อธิบายโครงสร้าง • ระบุขั้นตอน • บอกความสัมพันธ์ • จับใจความสำคัญ

  • ประเด็น 2.3  “จำไว้เลย” - การคิดขั้นสูงต้องอาศัยพื้นฐานของการมีความรู้ ความเข้าใจ และนำไปใช้ได้ การนำไปใช้(applying) หมายถึง การนำสิ่งที่เรารู้ และเข้าใจไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  หรือในบริบทอื่น ๆ ซึ่งแสดงออกได้ด้วยการ • จัดอันดับ • ประมาณการ • ดูความน่าจะเป็น • ลงความเห็น • เปลี่ยนความหมาย

  • ประเด็น 2.4 “จำไว้เลย” - ความสามารถในการแยกแยะ หรือการวิเคราะห์ (analyzing) เป็นทักษะเริ่มต้นของการคิดขั้นสูง ซึ่งแน่นอนว่าความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ และนำความรู้ไปใช้ ย่อมเป็นทักษะพื้นฐานของทักษะนี้ด้วย คนเราจะแยกแยะได้ แปลว่า ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันในข้อมูลนั้น ๆ ว่าส่วนประกอบเหล่านั้นประกอบกันเป็นข้อมูลนั้นได้อย่างไร ด้วยการแยกแยะว่า  • ครบถ้วนมั้ย  • เกี่ยวหรือไม่เกี่ยว  • ทั่วไปหรือเจาะจง  • เหตุผลอยู่ที่ไหน  • มีอะไรในเรื่องนี้  • เข้าใจผิดหรือเปล่า

  • ประเด็น 2.5 “จำไว้เลย”ความสามารถในการประเมิน (evaluating) และการสังเคราะห์ความรู้ขึ้นใหม่ อาจเกิดขึ้นสลับไปมาได้ นั่นคือ เมื่อเราสร้างองค์ความรู้ได้ เราก็สามารถนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ประเมินสิ่งที่เราพบเห็น ขณะเดียวกัน เมื่อเราได้ประเมินอะไรไปแล้ว ผลจากการประเมินก็ทำให้เราเกิดการเรียนรู้ ค้นพบเป็นองค์ความรู้ใหม่ ได้ด้วยเช่นกัน  ทักษะทั้งสองอย่าง จึงถือเป็นทักษะการคิดขั้นสูงสุด การที่เราจะประเมิน จนตัดสินใจใด ๆ ได้ถูกต้อง เหมาะสมนั้น เราสามารถประเมินได้ในลักษณะต่าง ๆ คือ • หลักการถูกมั้ย • เกณฑ์ใช้ได้มั้ย • ถูกต้องแน่นะ • ตัดสินใจสิ • คุณค่าอยู่ที่ไหน

  • ประเด็น 2.6 “จำไว้เลย” ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ (creating) อะไรขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง คือการที่เราได้สังเคราะห์ ประมวลความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เรามีอยู่อย่างมากมาย ที่ได้ผ่านการนำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินต่าง ๆ มาแล้ว จนเกิดความเข้าใจที่เป็น concept กับเรื่องนั้น และสามารถคิดค้นสร้างเป็นองค์ความรู้ของเราเองได้ การแสดงออกว่าเราสามารถสังเคราะห์ความรู้ สร้างสรรค์ความรู้ขึ้นเองได้ คิด ทำ อะไรใหม่ เป็นของตนเองได้นั้น สามารถสื่อออกมาได้หลายลักษณะ จากการ  • สื่อสารความคิด • วางแผน • ตั้งสมมติฐาน • สรุปได้เอง
    •เลือกสร้างสรรค์งาน

bottom of page